หน้าแรก | บริการ | โปรโมชั่น | ราคา | นัดหมาย | ข่าวสาร | คำถามที่พบบ่อย | ลูกค้าพูดถึงเรา | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อเรา
 
 


 
ความรู้ทั่วไป
1. เมื่อไหร่ลูกน้อยจะเริ่มมีฟัน?
2. การงอกขึ้นของฟัน
3. การดูแลฟันของลูกรักของท่าน
4. ฟันน้ำนมนั้น สำคัญไฉน?
5. จะป้องกันฟันผุได้อย่างไร?
6. เคลือบร่องฟัน กันฟันผุ
7. ยาสีฟันอะไรดีที่สุดสำหรับลูกน้อย?
8. ฟลูออไรด์
9. การตรวจสุขภาพช่องปาก
10. การถ่ายภาพรับสีทางทันตกรรม
11. ฟันผุจากการดูดนมขวด
12. ฟันยาง
13. บุตรหลานของท่าน "นอนกัดฟัน" หรือเปล่า?
14. การดูดนิ้ว
15. ภาวะฉุกเฉินทางทันตกรรม
16. อาหารที่ดี = สุขภาพช่องปากและฟันที่ดี
ความรู้ทั่วไป
Q : เมื่อไหร่ลูกน้อยจะเริ่มมีฟัน?
A :

การงอกของฟันน้ำนม เป็นกระบวนการของฟันน้ำนมที่จะโผล่พ้นเหงือกขึ้นมาในช่องปาก ซึ่งมีความแตกต่างกันในเด็กแต่ละคน เด็กบางคนจะมีฟันงอกขึ้นเร็วในขณะที่อีกหลายคนงอกช้า โดยทั่วไปแล้ว ฟันน้ำนมซี่แรกๆ ที่ขึ้นมาในช่องปากจะเป็นฟันหน้าล่าง และมักจะขึ้นในช่วงอายุ 6-8 เดือน (ศึกษาข้อมูลเพิ่มได้จาก หัวข้อ “ การงอกขึ้นของฟัน”)

dental
Q : การงอกขึ้นของฟันเป็นอย่างไร?
A :

ฟันของเด็กๆ จะเริ่มสร้างตัวตั้งแต่ก่อนคลอด เมื่ออายุได้ประมาณ 4 เดือน ฟันน้ำนมซี่แรก ซึ่งก็คือ ฟันตัดหน้าล่างคู่กลาง ก็จะเริ่มงอกโผล่พ้นเหงือกขึ้นมา จากนั้น ก็ตามมาด้วยฟันตัดหน้าบนคู่กลาง และแม้ว่าฟันน้ำนมทั้ง 20 ซี่จะโผล่ขึ้นมาในช่องปากเมื่ออายุครบ 3 ปี แต่ก็มีความแตกต่างกันในแต่ละคนในเรื่องของความเร็ว ระยะเวลาในการงอก รวมทั้งลำดับการงอกอีกด้วย

ฟันแท้ จะเริ่มขึ้นมาในช่องปากเมื่ออายุประมาณ 6 ปี โดยเริ่มจากฟันกรามซึ่แรกและฟันหน้าคู่กลาง กระบวนการงอกของฟันแท้จะมีต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนอายุประมาณ 21

ในผู้ใหญ่ จะมีฟันแท้ 28 ซี่ หรืออาจมากถึง 32 ซี่ได้ หากมีฟันกรามซี่ที่สาม (ซี่ในสุด หรือบางทีเรียกฟันคุด) ด้วย

พัฒนาการของฟัน


dental

Q : จะดูแลฟันของลูกรักอย่างไรดี?
A :

เมื่อลูกเริ่มมีฟันซี่แรกงอกขึ้นมาในช่องปาก ให้เริ่มการแปรงฟันทุกวันได้เลย ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์จะใช้ได้เมื่อเด็กโตพอที่จะบังคับการกลืนได้ดี โดยใช้เพียงปริมาณขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียวเท่านั้นพอ เมื่อเด็กอายุ 4 หรือ 5 ปี ก็สามารถเริ่มหัดแปรงฟันเองวันละ 2 ครั้งได้โดยต้องอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ปกครอง จนกระทั่งเด็กอายุได้ 7 ปี ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจได้ว่า เด็กจะสามารถแปรงฟันได้เองเป็นอย่างดีและทั่วถึง อย่างไรก็ตาม เด็กแต่ละคนก็ต่างกัน ทันตแพทย์ของท่านจะสามารถช่วยบอกท่านได้ว่า เด็กของท่านแปรงฟันได้ดีแล้วหรือยัง

การแปรงฟันที่ถูกวิธีจะช่วยขจัดคราบแบคทีเรียออกจากด้านใน ด้านนอก และด้านบดเคี้ยวของฟันได้ เมื่อสอนให้เด็กแปรงฟัน ให้วางแปรงสีฟันเป็นมุม 45 องศา เริ่มแปรงจากแนวขอบเหงือกบริเวณคอฟัน ใช้ขนแปรงชนิดนุ่ม และแปรงหมุนวนๆ อย่างนุ่มนวล แปรงฟันทุกด้านและทุกซี่ ทั้งฟันบนและฟันล่าง จบการแปรงทุกคร้งด้วยการแปรงลิ้น เพื่อช่วยให้ปากสะอาดอย่างทั่วถึง มีกลิ่นหอมสดชื่น และยังช่วยขจัดแบคทีเรียบนลิ้นได้อีกด้วย

การใช้ไหมขัดฟันจะช่วยขจัดแผ่นคราบจุลินทรีย์ที่อยู่ระหว่างซอกฟันบริเวณที่ขนแปรงสีฟันเข้าไม่ถึงได้เป็นอย่างดี การใช้ไหมขัดฟันควรใช้ในบริเวณซอกของฟันสองซี่ที่อยู่ชิดกัน ท่านอาจใช้ไหมขัดฟันให้เด็กจนกระทั่งเด็กสามารถทำได้เอง ให้ใช้ไหมขนาดความยาวประมาณ 18 นิ้ว พันรอบนิ้วกลางของทั้งสองมือ จับไหมขัดฟันหลวมๆ ด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้ ขยับไหมขัดฟันในแนวหน้า-หลังเพื่อนำไหมลงสู่ระหว่างซอกฟัน โอบไหมขัดฟันให้รอบตัวฟันเป็นรูปตัว C แล้วเคลื่อนไหมเข้าไปในซอกเหงือกรอบๆ ฟันจนรู้สึกตึงมือ ค่อยๆ ขัดถูฟัน แล้วทำซ้ำในฟันข้างเคียง เสร็จแล้วเปลี่ยนซอกฟัน ทำเหมือนเดิม และอย่าลืมทำแบบเดียวกันกับบริเวณท้ายสุดของฟันซี่สุดท้ายด้วย แม้ไม่มีซอกฟันก็ตาม

dental
Q : ฟันน้ำนมนั้น สำคัญไฉน?
A : การดูแลสุขภาพของฟันน้ำนมนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง การปล่อยปละละเลยฟันที่ผุทิ้งไว้ สามารถก่อให้เกิดปัญหาตามมาในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาต่อฟันแท้ที่กำลังสร้างตัว ความสำคัญของฟันน้ำนมคือ (1) สำหรับเคี้ยวอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ (2) เก็บรักษาพื้นที่ไว้สำหรับฟันแท้ และช่วยนำฟันแท้เข้าสู่ตำแหน่งที่ถูกต้องของมัน และ (3) ช่วยให้เกิดการเจริญอย่างปกติในกระดูกขากรรไกรและกล้ามเนื้อโดยรอบ ฟันน้ำนมยังมีผลต่อการพัฒนาการพูด และยังช่วยเสริมสร้างบุคคลิกให้ดูดีขึ้นได้ ฟันหน้าที่ 4 ซี่จะยังอยู่จนกระทั่งอายุ 6-7 ปีก็จะเริ่มหลุดไป ฟันหลัง (ตั้งแต่ฟันเขี้ยวไปจนถึงฟันกราม) จะมีฟันแท้มาแทนเมื่ออายุ 10-13 ปี
dental
Q : จะป้องกันฟันผุได้อย่างไร?
A :

การมีสุขภาพช่องปากที่ดีจะช่วยให้มีแบคทีเรียและเศษอาหารที่เป็นตัวการของฟันผุลดลงได้ สำหรับในเด็กทารกนั้น ควรใช้ผ้าก๊อซเปียกหรือผ้านุ่มสะอาดมาทำความสะอาดช่องปาก เหงือก และฟัน เพื่อกำจัดแผ่นคราบจุลินทรีย์ออกไป และหากบุตรหลานของท่านชอบหลับไปโดยต้องดูดขวด ก็พึงระวังอย่าให้ของเหลวในขวดนั้นเป็นอย่างอื่นใดเลยนอกจากน้ำสะอาดเท่านั้น (อ่านเพิ่มเติมใน “ ฟันผุจากการดูดนมขวด”)

สำหรับเด็กที่โตขึ้นมาแล้ว ควรแปรงฟัน อย่างน้อยวันละสองครั้ง นอกจากนั้น ควรตรวจตราดูปริมาณของกินเล่นที่มีน้ำตาลที่ท่านให้บุตรหลานของท่านกินด้วย อย่าให้มากจนเกินไป

ทันตแพทย์แนะนำให้ท่านพาบุตรหลานของท่านไปตรวจสุขภาพช่องปากและฟันทุก 6 เดือน โดยเริ่มจากวันเกิดขวบปีแรกของเด็ก การพาบุตรหลานของท่านไปตรวจเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะมีสุขภาพช่องปากที่ดีตั้งแต่ยังเล็ก และจะได้ปฏิบัติต่อไปอีกยาวนาน

ทันตแพทย์สำหรับเด็กจะแนะนำการเคลือบหลุมร่องฟันรวมทั้งการใช้ฟลูออไรด์ในบุตรหลานของท่านได้ การเคลือบหลุมร่องฟันในฟันกรามของเด็กจะช่วยป้องกันฟันผุในบริเวณที่ทำความสะอาดได้ยากอีกด้วย

dental
Q : เคลือบร่องฟัน กันฟันผุ
A : สารที่ใช้เคลือบหลุมร่องฟัน จะเป็นสารประเภทพลาสติก ใสหรือมีสีบ้างก็ได้ จะใช้บนด้านบดเคี้ยวของตัวฟันหลังบริเวณที่มีหลุมร่องฟัน เช่น ฟันกรามน้อย หรือ ฟันกราม ซึ่งมักพบว่ามีฟันผุเกิดขึ้นได้มากถึง 4 ใน 5 ของเด็กทั้งหมด การเคลือบหลุมร่องฟันนี้ จะเป็นเสมือนปราการป้องกันเศษอาหาร คราบจุลินทรีย์ และกรด ดังนั้นจึงช่วยป้องกันมิให้ฟันผุได้ง่าย
dental
Q : ยาสีฟันอะไรดีที่สุดสำหรับลูกน้อย?
A :

การแปรงฟันเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน ยาสีฟัน รวมทั้งผงขัดฟันหลายๆ ชนิดอาจทำลายรอยยิ้มของบุตรหลานของท่านได้ เพราะมันอาจผสมด้วยผงขัดอันหยาบกระด้างที่จะทำให้ผิวเคลือบฟันสึก ดังนั้น เมื่อต้องการมองหายาสีฟันสำหรับลูกน้อยของท่าน ควรเลือกที่ได้รับการรับรองโดยองค์กรที่ยอมรับเชื่อถือได้ ยาสีฟันเหล่านี้ได้ผ่านการตรวจสอบแล้วว่าปลอดภัยในการใช้งาน

จำไว้ว่า เด็กๆ ควรจะบ้วนเอายาสีฟันออกมาให้หมดหลังจากการแปรงฟัน ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับปริมาณฟลูออไรด์ที่มากเกินไป หากได้รับมากเกินไป อาจเกิดภาวะที่เรียกว่า “ฟันตกกระ” ดังนั้น หากบุตรหลานของท่านยังเด็กเกินกว่าที่จะควบคุมการกลืนและการบ้วนได้ ควรใช้ยาสีฟันที่ไม่มีฟลูออไรด์ หรืออาจไม่ต้องใช้ยาสีฟันเลยก็ได้ และถ้าหากจะใช้ ให้ใช้เพียงปริมาณเล็กน้อย ขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียวก็เพียงพอแล้ว
dental
Q : ฟลูออไรด์
A :

ฟลูออไรด์เป็นธาตุซึ่งเป็นที่ทราบกันว่ามีประโยชน์ต่อฟัน อย่างไรก็ตาม หากมีมากหรือน้อยเกินไปก็จะเป็นโทษรุนแรงต่อฟันเช่นกัน หากปริมาณฟลูออไรด์มีน้อยเกินไป หรือไม่มีเลย ก็จะไม่ช่วยให้ฟันแข็งแรงพอที่จะต้านการผุได้ การกลืนฟลูออไรด์ในปริมาณที่มากเกินไปในเด็กวันก่อนเรียนก็จะทำให้เกิดภาวะฟันตกกระได้ ซึ่งจะเห็นในฟันแท้ว่าเป็นสีขาวขุ่นไปจนถึงน้ำตาล เด็กหลายๆ คนอาจได้รับฟลูออไรด์ในปริมาณที่มากเกินกว่าที่ผู้ปกครองจะทราบ ดังนั้น จึงควรมีความรู้ในแหล่งของฟลูออไรด์ จะได้ระมัดระวังมิให้เด็กได้รับมากเกินไปจนเกิดฟันตกกระได้

ตัวอย่างของแหล่งของฟลูออไรด์ มีดังต่อไปนี้ :

  • ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนประกอบของฟลูออไรด์ในปริมาณที่มากเกินไปตั้งแต่ยังเด็กเล็ก
  • การใช้ฟลูออไรด์เสริมอย่างผิดวิธี
  • ฟลูออไรด์แอบแฝงจากอาหารของเด็ก

อายุ 2-3 ปี อาจยังไม่สามารถควบคุมการกลืนและบ้วนยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ในขณะแปรงฟันได้ดีนัก เด็กเหล่านี้จึงอาจมีโอกาสกลืนฟลูออไรด์ในปริมาณที่มากเกินไปในขณะแปรงฟัน การกลืนยาสีฟันในขณะที่มีการสร้างฟันแท้นั้น จะเสี่ยงต่อการเกิดฟันตกกระเป็นอย่างยิ่ง

การได้รับฟลูออไรด์เสริมที่มากเกินไปและอย่างไม่เหมาะสมนั้น อาจทำให้เกิดฟันตกกระได้เช่นกัน ไม่ควรให้ทารก หรือเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือนได้รับน้ำยาฟลูออไรด์ที่ใช้หยดเข้าปาก หรือยาเม็ดฟลูออไรด์ รวมทั้งวิตามินรวม แต่หากอายุหลังจากนั้น การให้ฟลูออไรด์เสริมจะกระทำก็ต่อเมื่อได้ตรวจสภาพของแหล่งฟลูออไรด์ที่เด็กได้รับอยู่สม่ำเสมอ โดยอาจได้รับคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือกุมารแพทย์ก็ได้

อาหารบางชนิดมีระดับฟลูออไรด์ที่สูง โดยเฉพาะอย่งยิ่ง นมผงสูตรสำหรับเด็กทารก นมสูตรถั่วเหลืองสำหรับเด็กทารก ซีเรียลแห้งสำหรับทารก ครีมผักขมสปิเนช และอาหารประเภทไก่สำหรับทารก เป็นต้น ควรอ่านฉลากให้ดี หรืออาจติดต่อผู้ผลิตเพื่อสอบถามข้อมูล เครื่องดื่มบางชนิดก็มีระดับฟลูออไรด์ที่สูง เช่น ชาที่เอาคาเฟอีนออกแล้ว น้ำองุ่นขาว และน้ำผลไม้ต่างๆ ที่ผลิตจากเมืองที่มีฟลูออไรด์ ในการทำน้ำอัดลม หรือการผสมเครื่องดื่มใดๆ ก็ตาม หากว่าใช้น้ำที่นำมาผสมนั้นจากเมืองที่มีฟลูออไรด์ ก็จะเป็นอีกแหล่งหนึ่งได้

ผู้ปกครองอาจทำตามขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดฟันตกกระในฟันของบุตรหลานท่าน :

  • ใช้เครื่องช่วยทำความสะอาดฟันสำหรับเด็กทารกหรือเด็กเล็กมาก
  • ใช้ปริมาณยาสีฟันสำหรับเด็กในปริมาณที่น้อย ประมาณเท่าเม็ดถั่วเขียว
  • ใส่ใจกับแหล่งของฟลูออไรด์ที่รับประทานเข้าไป ก่อนที่จะเรียกร้องขอฟลูออไรด์เสริมจากกุมารแพทย์หรือทันตแพทย์สำหรับเด็ก
  • หลีกเลี่ยงการให้ฟลูออไรด์เสริมทุกชนิดกับเด็กทารกจนกระทั่งเด็กอายุ 6 เดือน
  • ควรนำน้ำดื่มไปตรวจวัดระดับฟลูออไรด์ก่อนที่จะให้ฟลูออไรด์เสริมกับบุตรหลานของท่าน (อาจสอบถามได้จากองค์กรที่เกี่ยวกับน้ำในท้องที่ของท่านก็ได้)
    dental
Q : การตรวจสุขภาพช่องปาก
A :

ปัญหาในช่องปากส่วนใหญ่จะดำเนินไปอย่างช้าๆ ดังนั้น การตรวจสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้สามารถค้นพบสิ่งที่ผิดปกติเสียแต่เนิ่นๆ และจะสามารถให้การรักษาอย่างถูกต้องในเวลาอันเหมาะสม เพื่อที่จะแก้ไขปัญหานั้นๆ หรือแม้กระทั่งป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นได้

ทันตแพทย์ของท่านจะตรวจดูในทุกส่วนของช่องปากและใบหน้าอย่างละเอียด เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่า ฟัน เหงือก กระดูก แก้ม ลิ้น เพดานปาก และส่วนอื่นๆ ในช่องปากและใบหน้าอยู่ในสภาวะที่ดี

ในบางกรณี การถ่ายภาพรังสีก็เป็นสิ่งจำเป็น และอาจเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้พบปัญหาที่ไม่อาจเห็นด้วยตาเปล่าได้ และไม่ต้องกังวล.. รังสีทางทันตกรรมไม่เป็นอันตรายอย่างที่คิด!!

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการตรวจสุขภาพช่องปาก ก็คือ หลังจากที่ได้ตรวจเรียบร้อยแล้ว ท่านและทันตแพทย์ของท่านได้ปรึกษาหารือกันในสิ่งต่อไปนี้ :

- คำอธิบายสิ่งที่ตรวจพบในช่องปากของท่าน

- คำแนะนำถึงวิธีการดูแลรักษาปัญหาที่พบ ตัวอย่างเช่น มาตรการป้องกัน เช่น การใช้ฟลูออไรด์ หรือการเคลือบหลุมร่องฟัน เป็นต้น

- คำแนะนำในเรื่องอาหาร และวิธีที่ถูกต้องเหมาะสมในการดูแลรักษาความสะอาดช่องปากของท่าน

- ให้คำปรึกษาในการแก้นิสัยที่ผิดปกติที่ท่านอาจมีอยู่

- การเฝ้าระวังดูพัฒนาการของฟันและขากรรไกรในเด็กที่กำลังโต และหากท่านมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ทันตแพทย์ของท่านจะอธิบายถึงผลของโรคภัยไข้เจ็บนั้นๆ ต่อสุขภาพช่องปากของท่าน รวมทั้งผลต่อกระบวนการรักษาด้วย ทั้งท่านและทันตแพทย์ของท่านจะร่วมกันตัดสินใจในเรื่องของสิ่งที่จะต้องรับการรักษา วิธีการรักษา เวลาที่เหมาะสม และเรื่องของค่าใช้จ่ายในการรักษาอีกด้วย

การตรวจสุขภาพช่องปากนั้นมีค่ายิ่ง เพื่อที่จะคงไว้ซึ่งสุขภาพช่องปากที่ดีไปตลอดชั่วอายุของท่าน!

dental
Q : การถ่ายภาพรับสีทางทันตกรรม
A : ภาพถ่ายรังสี (X-Rays) เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นในการตรวจวินิจฉัยโรคของบุตรหลานท่านหากไม่มี ก็อาจไม่สามารถบอกถึงความผิดปกติอะไรบางอย่างได้

ภาพถ่ายรังสีสามารถบอกได้มากกว่าเพียงแค่มีฟันผุหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ใช้ตรวจดูสภาพการงอกของฟัน ดูรอยโรคของกระดูก ประเมินสภาพความบาดเจ็บ หรือสำหรับการวางแผนในการจัดฟัน เป็นต้น ภาพถ่ายรังสีจะมีส่วนช่วยให้ทันตแพทย์วินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ทำให้สามารถรักษาโรคที่อาจตรวจไม่เจอจากการตรวจทางคลินิกโดยที่ไม่ได้ถ่ายภาพรังสีเลยก็เป็นได้ และหากพบเจอปัญหา ก็จะสามารถรักษาได้ตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งก็จะช่วยให้การรักษาง่าย ไม่ยุ่งยาก และค่ารักษาก็จะไม่สิ้นเปลืองอีกด้วย

สมาคมทันตแพทย์สำหรับเด็กแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำให้มีการถ่ายภาพรังสีและตรวจสุขภาพช่องปากเป็น ประจำทุกหกเดือนสำหรับเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุสูง โดยทั่วไป ทันตแพทย์สำหรับเด็กจะขอด ูภาพถ่ายรังสีทุกระยะหนึ่งปี ทุกๆ 3 ปี ก็ควรจะถ่ายภาพรังสีอย่างละเอียดทุกซี่สักครั้งหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นฟิล์ม ชนิดรอบศีรษะ (Panoramic) คู่กับภาพรังสีของการกัดสบฟัน (Bitewings) หรืออาจเป็นภาพถ่ายดูรอบๆ ปลายรากของฟันแต่ละซี่ (Periapicals) คู่กับภาพรังสีของการกัดสบฟัน (Bitewings) ก็ได้

ทันตแพทย์จะให้ความระมัดระวังมิให้ปริมาณรังสีมีมากเกินไปสำหรับท่านและบุตรหลานของท่าน
อันที่จริงแล้ว ปริมาณรังสีที่ใช้ในทางทันตกรรมนั้นน้อยมากๆ อยู่แล้ว จึงแทบไม่มีความเสี่ยงอะไรเลย
จะว่าไปการถ่ายภาพรังสีในทางทันตกรรมมีโทษน้อยกว่าการละเลยไม่ถ่ายภาพรังสีแล้วบังเอิญมีรอยโรค
ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ทำให้ไม่ได้รับการรักษาด้วยซ้ำ ! บุตรหลานของท่านจะได้รับการป้องกัน ด้วยเสื้อตะกั่วและฉากกั้น ปัจจุบันนี้ อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้สามารถกรองรังสีได้ และยังกำหนดลำ แสงรังสีให้อยู่เฉพาะบริเวณที่เราสนใจเท่านั้นได้ด้วย นอกจากนั้น การใช้ฟิล์มที่มีความเร็วสูงร่วมกับการใช้ ฉากหรือเสื้อตะกั่วป้องกัน จะทำให้ท่านมั่นใจได้ว่า บุตรหลานของท่านจะได้รับปริมาณรังสีที่น้อยที่สุดอย่างแน่นอน
dental
Q : ฟันผุจากการดูดนมขวด
A :

รูปแบบฟันผุที่รุนแรงในกลุ่มเด็กเล็กคือ ฟันผุจากการดูดนมขวด สาเหตุเกิดจากการปล่อยให้ฟันสัมผัสกับของเหลวที่มีน้ำตาลเป็นระยะเวลายาวนานและบ่อยครั้ง ของเหลวดังกล่าวนี้ เช่น นม (รวมถึงการให้นมมารดาด้วย) นมผง น้ำผลไม้ และเครื่องดื่มรสหวานอย่างอื่น

การให้เด็กงีบหลับหรือแม้แต่นอนตอนกลางคืน โดยปล่อยให้เด็กดูดขวดที่มีเครื่องดื่มอื่นๆ ที่ไม่ใช่น้ำเปล่านั้น จะก่อให้เกิดฟันผุที่รุนแรงและรวดเร็ว ของเหลวรสหวานเหล่านี้จะตกค้างบริเวณฟันของเด็ก และเป็นแหล่งอาหารให้แบคทีเรียบริเวณนั้น ทำให้มันสร้างกรดขั้นมากัดกร่อนชั้นเคลือบฟัน หากท่านจำเป็นต้องให้ลูกหลานดูดขวดเนื่องจากให้เขาหลับสบาย ก็ควรให้ของเหลวในขวดนั้นเป็นน้ำเปล่าเท่านั้น หากเด็กไม่ยอกหลับโดยที่ไม่มีขวดรวมทั้งไม่มีของเหลวที่เขาคุ้นเคย ก็ค่อยๆ เจือจางปริมาณของเหลวนั้นลงเรื่อยๆ เพื่อให้เขาค่อยๆ คุ้นเคย จนผ่านไปนานประมาณ 2-3 สัปดาห์

หลังการป้อนนม ควรเช็ดทำความสะอาดเหงือกและฟันของเด็กด้วยผ้าสะอาดหรือผ้าก๊อซที่ชื้นเพื่อขจัดคราบจุลินทรีย์ วิธีที่ง่ายที่สุดคืให้นั่งลง แล้ววางศีรษะเด็กลงบนตักหรือให้เด็กนอนหงายลงกับโต๊ะหรือพื้นก็ได้ ไม่ว่าจะใช้ท่าทางใด ขอให้ท่านสามารถมองเห็นในช่องปากของเด็กได้ดี

dental
Q : ฟันยาง
A :

เมื่อบุตรหลานของท่านเริ่มมีกิจกรรมสันทนาการและมีการละเล่นกีฬาขึ้น อุบัติเหตุก็ย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ การมีอุปกรณ์ที่ใส่เพื่อป้องกันมิให้เกิดอันตรายร้ายแรงขึ้นกับฟัน เช่น ฟันยาง นั้น เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อกิจกรรมนั้นๆ มีโอกาสเกิดการกระทบกระแทกบริเวณศีรษะและปากได้

ฟันยางจะช่วยป้องกันมิให้ฟันแตกหัก มิให้เกิดอันตรายต่อริมฝีปาก ใบหน้า หรือ ขากรรไกร ฟันยางที่ทำขึ้นพอดีกับปากจะคงอยู่กับที่ไม่หลุดง่าย ไม่ขัดขวางต่อการพูดและหายใจ

ท่านสามารถสอบถามทันตแพทย์สำหรับเด็กของเราเกี่ยวกับการทำฟันยางเฉพาะบุคคลเทียบกับฟันยาง
สำเร็จรูปได้นะคะ

dental
Q : บุตรหลานของท่าน "นอนกัดฟัน" หรือเปล่า?
A :

ผู้ปกครองหลายๆ ท่านอาจเคยเป็นห่วงเรื่องที่เด็กนอนกัดฟันตอนกลางคืน บ่อยครั้งที่ได้ยินเสียงฟันกัดกันในขณะที่เด็กนอนหลับอยู่ หรือบางที ก็สังเกตุเห็นฟันที่สึกลง แลดูเตี้ยลงของบุตรหลานตัวเอง

เป็นที่เชื่อกันว่า การนอนกัดฟันเกิดจากองค์ประกอบทางภาวะจิตใจ อาจเป็นความเครียดจากสิ่งแวดล้อมใหม่ การหย่าร้าง การเปลี่ยนแปลงที่โรงเรียน ฯลฯ เหล่านี้ล้วนมีผลให้เด็กนอนกัดฟันได้ทั้งนั้น บางทฤษฏีก็เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับความดันภายในหูชั้นในตอนกลางคืน หากมีการเปลี่ยนแปลงของความดัน (เช่นในขณะอยู่บนเครื่องบิน ช่วงเครื่องบินขึ้นหรือลง ผู้โดยสารมักเคี้ยวหมากฝรั่ง ฯลฯ เพื่อช่วยปรับความดัน) เด็กจะกัดถูฟันไปมา เพราะผ่อนความดันนี้ลง

ส่วนมากแล้ว เด็กที่นอนกัดฟันมักจะไม่ต้องรับการรักษาใดๆ แต่หากพบมีฟันสึกมากๆ ก็อาจให้ใส่ ”เฝือกสบฟัน” ตอนนอนกลางคืน ข้อเสียของเฝือกสบฟันดังกล่าวนี้ มีโอกาสหลุดเข้าคอขณะนอนหลับได้หากหลวมหลุดง่าย และอาจขัดขวางการเจริญของขากรรไกรได้ แต่ข้อดีก็คือ มันจะสามารถป้องกันฟันสึกได้

ข่าวดีก็คือ เด็กส่วนมากที่นอนกัดฟัน มักจะเป็นน้อยลงเมื่ออายุ 6-9 ปี และอาจหายจากการนอนกัดฟันได้เมื่ออายุ 9-12 ปี หากสงสัยว่าบุตรหลานของท่านจะนอนกัดฟัน ท่านสามารถปรึกษากับกุมารแพทย์หรือทันตแพทย์สำหรับเด็กได้ค่ะ
dental
Q : การดูดนิ้ว
A :

การดูด เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติ และในทารกไปจนถึงเด็กเล็กอาจดูดนิ้วหัวแม่มือหรือนิ้วอื่นๆ หรือพวกจุกนมปลอม หรืออาจเป็นสิ่งอื่นๆ ได้ เพราะการดูดทำให้เด็กๆ รู้สึกอบอุ่น มีความสุข หรือช่วยให้พวกเขาเกิดความรู้สึกมั่นคงในบางช่วงเวลาที่ดูยุ่งยากวุ่นวายสำหรับพวกเขา ดังนั้น จึงทำให้พวกเขาหลับได้อย่างสบาย

การดูดนิ้วที่ยังคงอยู่จนกระทั่งวัยฟันแท้ขึ้น จะก่อให้เกิดปัญหาของการเจริญเติบโตปกติของปากและต่อการเรียงตัวของฟัน ยิ่งเด็กดูดรุนแรงมากขึ้นเท่าไร ก็จะยิ่งบอกได้ว่าจะเกิดปัญหาทางทันตกรรมได้หรือไม่ มากขึ้นเท่านั้น เด็กๆ ที่เอานิ้วเข้าปากเฉยๆ จะไม่ค่อยเกิดปัญหามากเท่ากับเด็กที่ดูดนิ้วอย่างจริงจัง

ควรให้เด็กเลิกดูดนิ้วให้ได้เมื่อฟันแท้ด้านหน้าเริ่มขึ้น โดยทั่วไป เด็กมักเลิกดูดได้ประมาณอายุ 2-4 ปี เพราะเริ่มเข้าโรงเรียนก็จะกลัวถูกเพื่อนล้อเลียน จึงทำให้เลิกได้เอง

จุกนมปลอมไม่ใช่สิ่งทดแทนการดูดนิ้วได้ เพราะมันสามารถก่อให้เกิดปัญหาเดียวกันกับที่เกิดเมื่อดูดนิ้ว อย่างไรก็ตาม การใช้จุกนมปลอมมาดูดแทนการดูดนิ้ว ก็เพื่อจะช่วยปรับพฤติกรรมการดูดนิ้วของเด็ก เพราะมันควบคุมได้ง่ายกว่าและอาจเลิกได้ง่ายกว่า หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูดนิ้วหรือการดูดจุกนมปลอม ท่านสามารถสอบถามได้กับทางทันตแพทย์สำหรับเด็กของเรา

ข้อแนะนำบางประการที่จะช่วยให้บุตรหลานของท่านเลิกดูดนิ้ว :

  • แทนที่จะดุด่าว่ากล่าวเด็กให้เลิกดูดนิ้ว ให้เปลี่ยนเป็นชมเชยเด็ก เมื่อเขาไม่ได้ดูดนิ้วแทน
  • เด็กที่ดูดนิ้วบ่อยๆ เมื่อรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย ให้มุ่งไปยังสาเหตุที่ทำให้เกิดความกระวนกระวายวุ่นวายใจแทนที่จะปล่อยให้ดูดนิ้ว
  • เด็กที่ดูดเพื่อสร้างความสบายใจจะไม่ได้ต้องการดูดเมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองสามารถให้ความสบายใจให้ได้
  • ให้รางวัลเด็กเมื่อพวกเขาสามารถเลิกดูดนิ้วในช่วงเวลายุ่งวุ่นวายของเขาได้ เช่น ช่วงที่อยู่ห่างจากพ่อแม่ผู้ปกครอง เป็นต้น
  • ทันตกแพทย์สำหรับเด็กของท่าน สามารถช่วยให้เด็กเลิกดูดนิ้ว และสามารถอธิบายสิ่งที่อาจเกิดขึ้นหากไม่เลิกดูดนิ้ว
  • หากวิธีต่างๆ เหล่านี้ไม่ช่วยอะไรเลย ให้เตือนเด็กโดยอาจใช้ผ้าพันแผลพันรอบนิ้วที่เด็กดูด หรือให้ถือผ้าหรือถุงเท้าในมือตอนนอน ทันตแพทย์สำหรับเด็กจะช่วยให้คำแนะนำในการใช้อุปกรณ์ที่ใส่ในปากเพื่อช่วยให้เลิกดูดได้
    dental
Q : ภาวะฉุกเฉินทางทันตกรรม
A :

ปวดฟัน : ให้ทำความสะอาดฟันบริเวณที่ปวดให้ทั่ว บ้วนปากมากๆ ด้วยน้ำอุ่นหรือใช้ไหมขัดฟันขจัดเอาเศษอาหารออก ห้ามใช้ยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน ลงไปที่เหงือกหรือฟันที่ปวดอย่างเด็ดขาด หากมีใบหน้าบวม ให้ประคบด้วยผ้าเย็น แล้วรีบไปพบแพทย์ทันทีที่ทำได้

กัดลิ้น ริมฝีปาก หรือกระพุ้งแก้ม : ให้ใช้น้ำแข็งประคบบริเวณที่ช้ำเป็นแผล หากมีเลือดออก ให้กดห้ามเลือดด้วยผ้าก๊อซหรือผ้าสะอาด หากผ่านไปประมาณ 15 นาทีแล้วเลือดไม่ยอมหยุด ให้รีบไปโรงพยาบาลโดยเร็ว

เมื่อฟันแท้ถูกกระแทกจนหลุดออกมา : ให้รีบหาฟันให้เจอ เมื่อพบแล้วให้จับฟันบริเวณส่วนตัวฟัน อย่าจับส่วนราก อาจล้างฟันได้โดยนำผ่านน้ำไหล แต่ห้ามทำความสะอาดโดยการเช็ดถูฟัน ตรวจดูฟันว่ามีรอยแตกหักหรือไม่ หากยังคงอยู่ในสภาพดี ให้นำกลับใส่เข้าไปในรูเบ้าฟันของมัน แล้วกัดผ้าก๊อซหรือผ้าสะอาดเอาไว้ หากไม่สามารถจับฟันใส่เข้าไปในรูเบ้าฟันของมันได้ ให้นำฟันใส่ในแก้วน้ำที่มีน้ำลายของเจ้าตัว หรือน้ำนมก็ได้ หรืออาจใช้อมไว้ในปากก็ได้เช่นกัน แล้วรีบไปพบทันตแพทย์โดยเร็วที่สุด !! เพราะระยะเวลาระหว่างที่ฟันหลุดออกมาจากเบ้าจนกระทั่งจับใส่เข้าไปได้นั้นสำคัญอย่างยิ่งกับชีวิตของฟัน
dental
Q : อาหารที่ดี = สุขภาพช่องปากและฟันที่ดี
A :

การมีนิสัยการรับประทานอาหารที่ดีจะนำไปสู่การมีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดีได้ กระดูกและเนื้อเยื่อในช่องปากก็เหมือนกับส่วนอื่นๆ ของร่างกาย คือต้องการอาหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์ เด็กๆ ควรรับประทานอาหารที่หลากหลายให้ครบทั้ง 5 หมู่ อาหารทานเล่นส่วนใหญ่ที่เด็กทานกันมักนำไปสู่การเกิดฟันผุแทบทั้งนั้น ยิ่งเด็กรับประทานถี่เท่าไร โอกาสเกิดฟันผุก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

ระยะเวลาที่อาหารอยู่ในปากก็เป็นสิ่งสำคัญยิ่งเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ลูกอมที่แข็งๆ และลูกอมรสมิ้นต์ที่ให้ความสดชื่นนั้น จะอยู่ในช่องปากได้นาน ซึ่งจะทำให้เกิดกรดมาทำลายผิวเคลือบฟันได้มาก หากบุตรหลานท่านต้องรับประทานของทานเล่น ให้เลือกชนิดที่มีคุณค่าทางอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ โยเกิร์ตไขมันต่ำ และเนยแข็งไขมันต่ำ ซึ่งจะให้คุณค่าและส่งเสริมสุขภาพช่องปากและฟันของเด็กได้มากกว่า
dental
 
 
เด็นทิส แอท 51
1499/1 ถนนสุขุมวิท (ระหว่างซอย 67-69) แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110 .
Tel. + 66 2 714 0405 - 6, Fax.+ 66 2 714 0406 HOTLINE + 66 8 9 143 1025
Map , E-mail: info@dentist51.com or dentist51@gmail.com

หน้าแรก | บริการ | โปรโมชั่น | ราคา | นัดหมาย | ข่าวสาร | คำถามที่พบบ่อย | ลูกค้าพูดถึงเรา | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อเรา