|
รากฟันเทียม
1. รากฟันเทียม คืออะไร?
2. ใส่รากฟันเทียมอย่างไร?
3. อะไรเป็นข้อดี-ข้อเสียของรากฟันเทียม?
4. ทำรากฟันเทียมจะเจ็บปวดมากหรือไม่? หลังผ่าตัดฝังรากฟันเทียมจะเป็นอย่างไร?
5. การเติมกระดูก เป็นอย่างไร?
6. ยกพื้นโพรงอากาศ “Sinus Lift” คืออะไร?
7. การฝังรากฟันเทียมจะมีความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนอะไรเกิดขึ้นได้หรือไม่?
8. รากฟันเทียม จะอยู่ไปได้นานแค่ไหน?
9. รากฟันเทียมเหมาะสำหรับทุกคนหรือไม่?
10. นานแค่ไหนแผลถึงจะหาย? แล้วจะใส่ฟันปลอมชั่วคราวระหว่างรอใส่ฟันจริงได้หรือไม่?
11. สูบบุหรี่ไม่ดีต่อรากฟันเทียมหรือไม่?
12. คุณภาพของรากฟันเทียมทุกระบบเหมือนกันหรือไม่?
13. แล้ว “ฟันที่ทำเสร็จได้ในวันเดียว” ล่ะ ดีหรือไม่?
14. จะทำความสะอาดรากเทียมได้อย่างไร? |
รากฟันเทียม |
Q : |
รากฟันเทียม คืออะไร ? |
A : |
ชนิดต่างๆ ของรากฟันเทียม
รากฟันเทียม ทำมาจากวัสดุที่เข้ากันได้ดีกับร่างกายของเรา ใช้ทดแทนฟันที่หายไปได้ทั้งส่วนของรากและส่วนตัวฟัน รากฟันเทียมโดยทั่วไปในยุคปัจจุบันมักเป็นเกลียวหรือทรงกระบอกที่ทำมาจากโลหะไทเทเนียม
ไทเทเนียมเป็นโลหะที่พิเศษ กล่าวคือ มันจะยึดตึดกับกระดูกโดยไม่มีชั้นใดๆ มาขวางกั้น การที่ไทเทเนียมยึดแน่นกับกระดูกนี้ เรียกกันว่า osseointegration ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของไทเทเนียมคือ มันจะไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ ร่างกายยอมรับได้ดี ไม่มีการอักเสบของเนื้อเยื่อช่องปาก และเพราะคุณสมบัติที่เข้ากันได้ดีกับเนื้อเยื่อในร่างกายมนุษย์ จึงมีการใช้ไทเทเนียมกันอย่างกว้างขวางในทางการแพทย์ เช่น การฝังเข้าไปในสะโพก หัวเข่า ฯลฯ
โดยทั่วไปแล้ว รากฟันเทียมจะมีความยาวตั้งแต่ 6–15 มิลลิเมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-5 มิลลิเมตร ปัจจุบัน มีหลากหลายบริษัทผู้ผลิตรากฟันเทียม แต่มีเพียงไม่กี่ระบบที่มีผลการศึกษาและวิจัยถึงผลการใช้งานในระยะยาว
|
Q : |
ใส่รากฟันเทียมอย่างไร ? |
A : |
ต้องมีการวางแผนการรักษาที่ดีและครอบคลุมก่อนในขั้นแรก ภาพถ่ายรังสีและแบบจำลองฟันที่ได้จากการพิมพ์ปากจะเป็นตัวช่วยที่ดีในการประเมินปริมาณกระดูกในแง่ขอ
งความกว้างและลึก ดังนั้น จะสามารถวางแผนสำหรับเลือกขนาดของรากฟันเทียมที่เหมาะสมได้
ภาพถ่ายรังสีสำหรับวัดปริมาณกระดูก
การทำรากฟันเทียม เป็นกระบวนการทางศัลยกรรมที่ทำภายใต้ภาวะปลอดเชื้อ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 45-90 นาที โดยใช้ยาชาเฉพาะที่ จึงไม่ทำให้รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม กระบวนการนี้อาจก่อให้เกิดความเครียดต่อคนไข้ได้ การใช้ก๊าซ ไนตรัสออกไซด์ (ก๊าซหัวเราะ) หรืออาจเป็นยาสงบประสาท อาจถูกนำมาใช้ได้ในบางกรณี ซึ่งจะช่วยให้คนไข้รู้สึกผ่อนคลายและสบายขึ้น
ในการทำรากฟันเทียมที่ยุ่งยากซับซ้อนขึ้น เช่น ในกรณีที่มีการเติมปริมาณกระดูก อาจพิจารณาใช้การดมยาสลบสำหรับคนที่กลัวการทำฟันมากๆ ได้ โดยจะต้องอาศัยบุคคลากรที่ชำนาญการโดยเฉพาะ
เมื่อเหงือกและเนื้อเยื่อหมดความรู้สึก (ชา) ทันตแพทย์ก็จะเปิดเหงือออกอย่างระมัดระวัง แล้วกรอกระดูกจนมีขนาดพอเหมาะกับรากฟันเทียมที่เลือกไว้ แล้วใส่รากฟันเทียม (เฉพาะในส่วนของราก) ลงไป จากนั้น ก็จะเย็บปิดเหงือกด้านบนเอาไว้ รอเวลาให้แผลหาย โดยในระหว่างนี้ อาจมีฟันปลอมให้ใช้งานไปก่อนได้ แล้วแต่กรณี
ถึงเวลาใส่ฟันลงไปบนรากฟันเทียม
เมื่อถึงเวลาที่รากฟันเทียมเฉพาะในส่วนของรากเชื่อมติดแน่นดีกับกระดูกโดยรอบ ซึ่งมักใช้เวลาประมาณ 6-12 สัปดาห์ ทันตแพทย์ก็จะเปิดเหงือกออกมาอีกครั้ง เพื่อใส่ฟันลงไปบนรากฟันเทียมที่อยู่ภายในกระดูกแล้ว ซึ่งอาจใช้วิธีปกติ หรือใช้เลเซอร์ก็ได้ กระบวนการใส่ฟัน จะประกอบไปด้วยการพิมพ์ปาก ส่งงานไปแล็บ แล้วเมื่อได้ชิ้นงานฟันปลอม ก็จะนำมาใส่ลงไปบนรากฟันเทียมนั้นๆ ได้เลย
|
Q : |
อะไรเป็นข้อดี-ข้อเสียของรากฟันเทียม ?
|
A : |
- รากฟันเทียม ทำให้การใส่ฟันติดแน่นเป็นไปได้ แม้แต่ในรายที่เดิมทีนั้นมีเฉพาะฟันปลอมชนิดถอดได้เท่านั้นที่เป็นไปได้ ข้อดีอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่ต้องมีการกรอฟันดีๆ ข้างเคียงเพียงเพื่อจะใส่ฟันติดแน่น นอกจากนั้น รากฟันเทียม ยังสามารถป้องกันมิให้กระดูกขากรรไกรละลายไป ซึ่งจะทำให้ฟันปลอมนั้นอยู่กับที่ได้ดี ไม่หลวมหลุดง่าย
- เพราะรากฟันเทียมต้องอาศัยการผ่าตัดเล็กในช่องปาก ดังนั้น จึงอาจจัดได้ว่าเป็นข้อด้อยก็ว่าได้ และระยะเวลาที่ต้องรอกว่าจะใช้งานรากฟันเทียมได้นั้น ก็จัดว่าเป็นข้อเสียได้เช่นกัน ในบางกรณี การทำรากฟันเทียม อาจราคาสูงกว่าการใส่ฟันโดยทั่วไปอีกด้วย
ข้อดี-ข้อด้อยของรากฟันเทียมนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลเป็นสำคัญ หาได้เฉพาะเจาะจงลงไปไม่
|
Q : |
ทำรากฟันเทียมจะเจ็บปวดมากหรือไม่ ? หลังผ่าตัดฝังรากฟันเทียมจะเป็นอย่างไร ? |
A : |
การผ่าตัดฝังรากฟันเทียมจะใช้ยาชาเฉพาะที่ ซึ่งจะทำให้ไม่รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด หากท่านต้องการยาสงบประสาทหรือการดมยาสลบก็สามารถขอรับบริการได้เช่นกัน หลังจากการฝังรากฟันเทียมแล้ว จะมีการเจ็บแผลบ้างเล็กน้อยเป็นธรรมดาของแผลผ่าตัด ซึ่งจะหายได้เองในไม่กี่วันหลังจากนั้น ยาแก้ปวดสามารถช่วยให้หายได้ บางทีอาจมีการบวมเกิดขึ้นได้บ้าง โดยทั่วไปแล้ว อาจบวมได้นานประมาณ 3-4 วัน และในบางกรณี อาจพบเห็นรอยฟกช้ำได้เช่นกัน แต่ก็จะหายเป็นปกติได้โดยเร็ว
|
Q : |
การเติมกระดูก เป็นอย่างไร ?
(1) (2)
(3) (4)
|
A : |
ในสันเหงือกที่แคบ ก่อนที่เราจะฝังรากฟันเทียมลงไปนั้น จะต้องเติมชิ้นกระดูกลงไปเสียก่อน ( ภาพที่ 1). ในกรณีที่หลงเหลือรอยกระดูกที่ต้องเติมเล็กน้อย ก็อาจใช้เศษกระดูก หรือ กระดูกสังเคราะห์ ( ภาพที่ 2-4)
บ่อยครั้งที่ความสูงหรือความกว้างของกระดูกขากรรไกรนั้นลดลงจากปรากฎการณ์ละลายของกระดูกตามธรรมชาติ คงเหลือแต่กระดูกที่มีปริมาณไม่เพียงพอต่อการรองรับรากฟันเทียม กรณีเช่นนี้ จำเป็นต้องมีการเติมกระดูก ซึ่งอาจทำก่อนหรือขณะที่ทำการฝังรากฟันเทียมก็ได้ วัสดุที่ดีที่สุดสำหรับการเติมกระดูก ก็คือ กระดูกของตัวผู้ป่วยเองซึ่งสามารถเอามาจากกระดูกขากรรไกรล่างของตัวผู้ป่วยนั่นเอง ในกรณีที่ต้องการกระดูกในปริมาณมากๆ จะต้องใช้จากแหล่งภายนอกช่องปาก เช่น จากกระดูกสะโพก เป็นต้น การปลูกกระดูกในกรณีเช่นนี้ จะใช้กระดูกเป็นชิ้น แล้วยึดติดที่บริเวณที่ต้องการเติมด้วยสกรูไทเทเนียม หรืออาจบดเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำมาไว้บริเวณที่ต้องการเติม แล้วคลุมไว้ต้องแผ่นเมมเบรนบางๆ ทิ้งไว้ประมาณ 6 เดือน กระดูกที่เติมลงไปก็จะเชื่อมติดกับกระดูกที่บริเวณนั้น จากนั้น ก็ทำการฝังรากฟันเทียมได้
สำหรับร่องรอยที่กระดูกไม่เพียงพอเพียงเล็กน้อยนั้น สามารถใช้กระดูกสังเคราะห์ (เช่น BioOss) มาเติมได้ ภายใน 6-12 เดือน กระดูกสังเคราะห์และกระดูกจริงในบริเวณนั้นก็จะเชื่อมติดกันได้ ข้อดีของวิธีนี้คือ ไม่ต้องทำการเอากระดูกมาจากแหล่งอื่นๆ ในตัวผู้ป่วยเองแต่อย่างใด
|
Q : |
ยกพื้นโพรงอากาศ “ Sinus Lift” คืออะไร ? |
A : |
“Sinus Lift” ก็คือการยกระดับพื้นของโพรงอากาศเหนือขากรรไกรบน เป็นการเติมกระดูกชนิดหนึ่ง โดยทั่วไปแล้ว บริเวณปลายรากของฟันกรามบนจะมีโพรงอากาศขนาดใหญ่อยู่ ซึ่งจะมีปริมาณกระดูกน้อย ทำให้การฝังรากฟันเทียมเป็นไปได้ยาก การยกระดับพื้นของโพรงอากาศสามารถช่วยให้มีกระดูกมากพอจะฝังรากฟันเทียมได้ โดยกระบวนการผ่าตัดจากภายในช่องปาก จะเห็นพื้นของโพรงอากาศ จากนั้นก็ยกมันขึ้นไป แล้วเติมบริเวณช่องว่างที่เกิดจากการยกพื้นโพรงอากาศขึ้นไปแล้ว ด้วยเศษกระดูกหรือกระดูกสังเคราะห์ แล้วแต่กรณี ในกรณีที่กระดูกที่มีอยู่มีความสูงพอจะฝังรากฟันเทียมได้ ก็จะสามารถฝังไปพร้อมกับการเติมกระดูกหลังจากยกพื้นโพรงอากาศไปแล้วได้ในครั้งเดียวกัน แต่ถ้าปริมาณกระดูกไม่เพียงพอที่จะพยุงรากฟันเทียมเอาไว้ได้เลย ก็จะต้องเติมกระดูกเสียก่อน รอจนกระดูกที่เติมลงไปเชื่อมติดกับกระดูกเดิม แล้วค่อยฝังรากฟันเทียมอีกครั้งหนึ่ง โดยทิ้งระยะเวลาไว้ประมาณ 6 เดือน
|
|
|
กรณีต้องการเติมกระดูกในปริมาณน้อยๆ จะสามารถเติมได้เลยในครั้งเดียวกันกับการฝังรากฟันเทียมโดยใช้เศษกระดูกหรือกระดูกสังเคราะห์
|
|
Q : |
การฝังรากฟันเทียมจะมีความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนอะไรเกิดขึ้นได้หรือไม่ ? |
A : |
ในยุคปัจจุบัน มีรายงานถึงอัตราความสำเร็จในการรักษาทางทันตกรรมรากเทียมว่าสูงขึ้นมาก โดยในรากฟันเทียมที่ทำโดยทันตแพทย์ด้านศัลยกรรมช่องปากผู้ชำนาญนั้น จะสามารถใช้งานได้ยาวนานมากถึง 90% ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากเมื่อเทียบกับรายงานผลด้านการแพทย์อย่างอื่นๆ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการวางแผนการรักษาและดำเนินการอย่างระมัดระวังเป็นอย่างดีแค่ไหน ผลการรักษาที่ล้มเหลวก็สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น การที่มีรากฟันเทียมหรือกระดูกที่เติมลงไปนั้นสูญเสียไปจากการที่มีการติดเชื้อแบคทีเรีย หรืออาจเพราะรับแรงมากเกินไป และอาจพบผลต่อเส้นประสาทรับความรู้สึกหรือฟันข้างเคียงอยู่บ้าง แต่ไม่มากนัก
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้สูญเสียรากฟันเทียม ได้แก่ :
- การมีสุขภาพช่องปากที่ไม่ดี
- สูบบุหรี่จัด
- เป็นโรคกระดูกพรุนรุนแรง
เป็นโรคเบาหวานที่ขาดการควบคุม
|
Q : |
รากฟันเทียม จะอยู่ไปได้นานแค่ไหน ? |
A : |
มีการศึกษาถึงความคงทนของรากฟันเทียมมานานถึบง 30 ปีแล้ว ผลปรากฎว่า หากมีสุขภาพช่องปากและการดูแลที่ดี มีการตรวจสุขภาพปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ รากฟันเทียมก็จะสามารถอยู่คงทนได้ ตลอดชีวิต
|
Q : |
รากฟันเทียมเหมาะสำหรับทุกคนหรือไม่ ? |
A : |
โดยทั่วไปแล้ว ทุกคนสามารถทำรากฟันเทียมได้ มีน้อยมากจริงๆ ที่ไม่สามารถทำได้ แม้แต่อายุของคนไข้เอง ก็ไม่ได้สำคัญ ไม่ว่าจะทำรากฟันเทียมในคนสูงอายุ หรือในวัยหนุ่มสาว ต่างก็ให้ผลที่ดีเหมือนกัน ทั้งนี้ ก็ต่อเมื่อคนๆ นั้นสามารถดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของตนได้เป็นอย่างดี
|
Q : |
นานแค่ไหนแผลถึงจะหาย ? แล้วจะใส่ฟันปลอมชั่วคราวระหว่างรอใส่ฟันจริงได้หรือไม่ ? |
A : |
ระยะเวลาการหายของแผลรากฟันเทียมก่อนจะใส่ครอบหรือฟันปลอมลงไปบนนั้น ขึ้นอยู่กับปริมาณและคุณภาพของกระดูกที่ฝังรากเทียมนั้นๆ เอง รวมทั้งความยาวและเส้นผ่านศูนย์กลางของรากฟันเทียมที่ใช้ฝังด้วย ในรายปกติทั่วไปที่กระดูกดีและเหมาะสม หากฝังรากฟันเทียมเพียง 2-3 ราก ก็อาจใส่ฟันปลอมลงไปได้เลย แต่ยังรับแรงไม่ได้ เพราะรากฟันเทียมยังไม่แน่นดีนัก เสี่ยงต่อการหลุดได้ หากฝังจำนวนมากกว่านั้น หรือกรณีกระดูกไม่ดีนัก คงต้องรอประมาณ 6-12 สัปดาห์ จนกว่ารากฟันเทียมจะแน่นพอแล้วใส่ฟันให้รับแรงเคี้ยวได้ หากมีการเติมกระดูก จะต้องรอนานขึ้น อาจนานถึง 6 เดือนได้
ฟันปลอมชนิดติดแน่นหรือถอดได้สำหรับใช้ชั่วคราวระหว่างรอแผลรากฟันเทียมหาย ก็สามารถใส่ได้ช่วงนี้ คนไข้จะได้มีฟันในปากตลอดเวลาแม้หลังทำรากฟันเทียมไปแล้ว
|
Q : |
สูบบุหรี่ไม่ดีต่อรากฟันเทียมหรือไม่ ? |
A : |
ในปัจจุบันนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่า ผู้ที่สูบบุหรี่อย่างหนัก (มากกว่า 10 มวนต่อวัน) จะมีอัตราเสี่ยงต่อการสูญเสียรากฟันเทียมที่สูงขึ้นกว่าผู้ที่ไม่สูบ ความเสี่ยงที่ว่าก็คือภาวะแทรกซ้อนในการเติมกระดูกนั่นเอง
|
Q : |
คุณภาพของรากฟันเทียมทุกระบบเหมือนกันหรือไม่ ? |
A : |
ปัจจุบัน มีรากฟันเทียมผลิตออกมาจากหลากหลายบริษัท แต่มีเพียงไม่กี่ยี่ห้อที่มีการศึกษาในระยะยาวเกี่ยวกับรากเทียมของบริษัทนั้นๆ ทางคลินิกฯ เลือกใช้รากฟันเทียมที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง และมีบริการหลังการขายที่ดี มีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องไว้พร้อมสำหรับเรียกใช้ยามฉุกเฉิน ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะเมื่อผ่านไปแล้วหลายสิบปี หากจำเป็นต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไรบางอย่าง ก็จะสามารถทำได้
|
Q : |
แล้ว “ฟันที่ทำเสร็จได้ในวันเดียว” ล่ะ ดีหรือไม่ ? |
A : |
การโฆษณา ไม่จำเป็นต้องเป็นความจริงเสมอไป รากฟันเทียมที่รับแรงในทันทีนั้น ก็คือการต่อตัวฟันเข้ากับรากฟันเทียมที่เพิ่งฝังลงไปในกระดูกนั่นเอง รากฟันเทียมชนิดนี้ช่วยลดเวลาให้คนไข้และช่วยให้รู้สึกสบายได้เร็วขึ้นเพราะมีฟันใช้ อย่างไรก็ตาม แต่ละคนก็มีความแตกต่างกัน การจะพิจารณาใช้ข้อดีของรากฟันเทียมชนิดนี้ในแต่ละคนคงต้องชั่งน้ำหนักดูให้ดี โดยเทียบกับความเสี่ยงอื่นๆ ด้วย และที่สำคัญ ทันตแพทย์ด้านศัลยกรรมช่องปากจำเป็นต้องมีประสบการณ์สูงที่จะทำการรักษาชนิดนี้ และจะเลือกทำก็ต่อเมื่อพิจารณาแล้วมีข้อดีมากกว่าและไม่เสี่ยงใดๆ อย่างชัดเจน
|
Q : |
จะทำความสะอาดรากเทียมได้อย่างไร ? |
A : |
การรักษาความสะอาดของรากฟันเทียมก็เหมือนกับในฟันธรรมชาติ การมีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดีย่อมมีประโยชน์ การใช้แปรงซอกฟันอาจเป็นประโยชน์ในการทำความสะอาดระหว่างซอกรากฟันเทียม ทันตแพทย์ของเราสามารถช่วยสอนวิธีทำความสะอาดช่องปากที่ถูกวิธีให้กับท่านได้
|